University of Phayao

Digital Collections

ฐานข้อมูลคลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา จัดทำโดยศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บและเผยแพร่ผลงานของคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต ของมหาวิทยาลัยพะเยา

นโยบายการรับผลงานการรับผลงานเข้าสู่ฐานข้อมูลคลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา จะคัดเลือกรับผลงานประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • Theses วิทยานิพนธ์
  • Dissertations ดุษฎีนิพนธ์
  • Independent Study รายงานการค้นคว้าอิสระ
  • Technical Report รายงานการวิจัย
  • Journal Paper บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในบทความวารสาร
  • Bachelor’s Project ปัญหาพิเศษนักศึกษาปริญญาตรี
  • Patents สิทธิบัตร
  • Local Information Phayao Province ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดพะเยา
  • University of Phayao Archives จดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพะเยา

ติดต่อสอบถามข้อมูลหรือส่งผลงานได้ที่ UPDC Support.

Photo by @inspiredimages
 

Recent Submissions

Item
สภาพการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) กฤษณา แซ่เล้า
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 จำแนกตามลักษณะตำแหน่งที่ปฏิบัติงานตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์การปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซีและมอร์แกน จำนวน 147 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีคิดของลิเคอร์ท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ใช้วิธีทดสอบความแตกต่างรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ในภาพรวม 6 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนบนพื้นที่สูงและทุรกันดาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 จำแนกตามลักษณะตำแหน่งที่ปฏิบัติงาน พบว่า โดยภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Item
การศึกษาปัจจัยและแนวทางการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงราย
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) วาสนา วิชัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงรายที่ได้เข้าไปสนับสนุนส่งเสริมดูแล และให้ความช่วยเหลือในการจัดกิจกรรม 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ของศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด เชียงรายประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน ข้าราชการครู จำนวน 8 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 24 คน และครูหัวหน้ากศน.ตำบล จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงรายตามปัจจัยการบริหาร 4Ms ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านคนอยู่ในระดับมาก และด้านวัสดุ อุปกรณ์อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านงบประมาณอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ แนวทางการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ของศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงรายตามปัจจัยการบริหาร 4 Ms ด้านคน ได้แนวทางว่า โดยสถานศึกษามีการส่งเสริม สนับสนุน ดูแล และให้ความช่วยเหลือในการจัดกิจกรรม ได้มีการชี้แจงแนวทางการนำนโยบายระดับสำนักงาน กศน. ให้บุคลากรเข้าใจในแผนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรงเรียนผู้สูงอายุ มีการมอบหมายให้ครูหัวหน้ากศน. ตำบล และครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนพื้นที่เข้าไปมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ด้านงบประมาณ ได้แนวทางว่า เนื่องจาก กศน. อำเภอ ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดกิจกรรมโดยตรงสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ จึงใช้การระดมทุนและขอรับการสนับสนุนบประมาณจากภาคีเครือข่าย และจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่มาร่วมจัด ด้านวัสดุอุปกรณ์ ได้แนวทางว่า สถานศึกษามีการจัดซื้อจัดหาวัสดุ ตามงบประมาณที่จัดสรรลงสู่ กศน. ตำบล เพื่อวางแผนใช้จ่ายเงินสำหรับจัดกิจกรรมของผู้เรียน ในกลุ่มผู้สูงอายุมีการจัดหาทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น และจากผู้เรียนเตรียมมาเอง ด้านการบริหารจัดการ เป็นการบริหารจัดการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย
Item
แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านท่าขันทอง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) รัตนา บุญเลิศ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนในปัจจุบันของบ้านท่าขันทอง ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านท่าขันทอง ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านท่าขันทอง ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนจำนวน 11 คน และประชากรนักท่องเที่ยว จำนวน 3,801 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 362 คน มีวิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม โดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาวิจัยทำให้ได้ทราบสถานการณ์ว่าในอดีตชุมชนบ้านท่าขันทอง ได้รับการพัฒนามาตรฐานพัฒนาโฮมสเตย์ ได้รับมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย มีคณะมาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแซว เป็นผู้ประสานงานระหว่างนักท่องเที่ยวกับชุมชน ต่อมามีปัญหาด้านการจัดการกระจายรายการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงของสมาชิก และการพัฒนาชุมชนที่ไม่มีการวิเคราะห์รอบด้านทำให้ปัจจุบันสมาชิกแยกตัวมาตั้งกลุ่มใหม่ในปี พ.ศ. 2561 ได้ตั้งคณะกรรมการโฮมสเตย์และการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านท่าขันทอง แต่ยังขาดการบริหารจัดการที่ดี เช่น ขาดการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ การกำหนดแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ชัดเจน ขาดการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว ขาดการประชาสัมพันธ์ การพัฒนาสินค้าของที่ระลึกที่เป็นอัตลักษณ์ ระบบการตรวจสอบจากองค์กรภายนอก การจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ ด้านการเงินการกระจายรายได้ที่เป็นระบบ จากการศึกษาข้อมูลของนักท่องเที่ยว พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เดินทางมาเพื่อประชุมสัมมนา ศึกษาดูงาน มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด คือ ด้านสิ่งดึงดูดใจ (Attraction) ที่เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ริมฝั่งแม่น้ำโขง รองลงมา คือ ด้านกิจกรรม (Amenities) ชมวิถีชีวิตของชุมชน อาหาร การแต่งกายที่มีเอกลักษณ์ รองลงมา ได้แก่ ด้านการเข้าถึง (Accessibilities) ที่มีความสะดวกเข้าถึงง่าย และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) ด้านที่พักโฮมสเตย์ที่เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวตามลำดับ ส่วนแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยชุมชนบ้านท่าขันทองที่ต้องพัฒนาเป็นอันดับแรก คือ ด้านการบริหารจัดการ (Administration) ที่ดีมีมาตรฐานดังที่กล่าวมาข้างต้นมีการสร้างแบรนด์ที่ให้เป็นที่จดจำ สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเป็นองค์ประกอบที่ใช้พัฒนาจุดดึงดูดใจ เช่น จุดถ่ายภาพริมโขง การพัฒนาการเข้าถึงทางน้ำ พัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวทางน้ำ พัฒนาโฮมสเตย์ให้เพียงพอรองรับนักท่องเที่ยว มีร้านอาหาร ห้องน้ำเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มาแบบส่วนตัว และส่งเสริมการจัดการที่ดี โดยเฉพาะการจัดการด้านการเงินที่เป็นธรรม กระจายผลประโยชน์มีกองทุนสำหรับอาชีพในชุมชน มีการจัดการด้านการตลาดอย่างมีระบบ
Item
สภาพการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ปรารถนา ศิริกัน
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 36 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายอาคารสถานที่ และข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 36 จำนวน 335 คน ได้มาโดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Kreicie and Morgan, 1970) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ตามขนาดของสถานศึกษา ได้แก่ สถานศึกษาขนาดเล็ก สถานศึกษาขนาดกลาง สถานศึกษาขนาดใหญ่ และสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ซึ่งมีดัชนีความสอดคล้องในความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (IOC) ของแบบสอบถามทุกข้ออยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.916 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย Mean และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติที่ใช้ ได้แก่ การทดสอบค่า F-test (One-way ANOVA) ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า 1) สภาพการบริหารงานอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 36 อยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 36 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ด้านการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อม ด้านการบำรุงรักษาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม และด้านการควบคุมดูแลอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Item
สภาพการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของบุคลากรทางการศึกษากลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) พรอรดี ซาวคำเขตต์
การศึกษาสภาพการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของบุคลากรทางการศึกษากลุ่ม เครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของบุคลากรทางการศึกษากลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการสภาพการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการ สถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องถิ่น กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ จำนวน 216 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของบุคลากรทางการศึกษากลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) แนวทางการดำเนินงานการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของบุคลากรทางการศึกษากลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ ดังนี้ 2.1) ด้านการมีค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วมกันควรมุ่งเน้นการสร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วมกัน และสนับสนุนให้มีกระบวนการทำงานร่วมกันของคณะครู 2.2) ด้านการแลกเปลี่ยนการปฏิบัติงานระหว่างบุคคล โรงเรียนควรจัดบรรยากาศทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมทั้งสนับสนุนและกระตุ้นให้ครูมีการเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2.3) ด้านการสนับสนุนและการมีภาวะผู้นำร่วมกัน การเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดการเรียนรู้จะต้องเกิดขึ้นในชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู ทำให้ครูได้มีส่วนร่วมและมีภาวะผู้นำร่วมกัน และอุทิศตนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 2.4) ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ครูเป็นแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาตนเองอุทิศตนในการทำงาน และทำให้เกิดความรว่มมือในการทำงานเป็นทีม และพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่อง