คลังความรู้
default-header-01
obj-3@2x
obj-1
obj-g-1

บทความวิชาการ

  • 17 มิ.ย. 2025
  • 37 Views
การออกแบบอัตลักษณ์ท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ด้วยคลิปอาร์ตดิจิทัล: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดพะเยา

          ดร. ศุลีพร คำชมภู อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จบการศึกษาปริญญาตรี ทางด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร และได้มีโอกาสไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกในหลักสูตร Design and Media Technology จากมหาวิทยาลัยอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบอัตลักษณ์องค์กร มีความ สนใจ ด้านการออกแบบอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นการช่วยยกมาตรฐานด้านภาพลักษณ์ให้แก่ผลิตภัณฑ์ ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือด้านคุณภาพสู่สายตาของผู้บริโภค อีกทั้งทำให้ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นมีโอกาสทางการตลาด มากขึ้น กว้างขึ้น ซึ่งเป็นกลไกที่จะส่งผลในการนำความเจริญกลับสู่ชุมชนนั้น ๆ จึงมีแนวความคิดในการทำโครงการ “การออกแบบอัตลักษณ์ข้อมูลภาพดิจิตัลและเทมเพลตสำเร็จรูป” เพื่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับนักออกแบบ ท้องถิ่น ซึ่งเป็นโครงการที่ทำอัตลักษณ์ท้องถิ่นนำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ โดยได้ร่วมกับนักออกแบบท้องถิ่นชุมชนในพื้นที่จังหวัดพะเยา ร่วมกันเปลี่ยนภาพลักษณ์สินค้าและบริการชุมชนด้วยการใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่มีอยู่อย่างหลากหลายในจังหวัดพะเยา ซึ่งในกระบวนการนั้นมีเป้าหมายให้คนในชุมชนสามารถนำวิธีทำงานที่ได้จากโครงการไปต่อยอด สร้างสรรค์แบรนด์ด้วยตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ทั้งหมดนั้นเป็นการรวบรวมข้อมูลต้นทุนทางวัฒนธรรมและจัดทำคลิปอาร์ตที่สะท้อนตัวตนของพื้นที่พะเยา และการทำการออกแบบอัตลักษณ์สินค้าชุมชนผ่านโครงการ ซึ่งฉายให้เห็นภาพรวมด้านการทำงานใน 2 มิติ ใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ มิติแรก ผลผลิตจากการทำงานแสดงให้เห็นสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้น ๆ ที่ถูกนำมาพัฒนาโดยหลักการออกแบบ เพื่อทำให้อัตลักษณ์พื้นที่เป้าหมายแสดงความเป็นเอกลักษณ์ในเชิงการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนได้ โดยในโครงการได้นำข้อมูลด้านภาพที่บ่งชี้ ทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเก็บข้อมูลจากแหล่งศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ในจังหวัดพะเยามาผ่านกระบวนการด้านการออกแบบแล้วนำมาสู่การพัฒนาในรูปแบบสื่อสร้างอัตลักษณ์ต่าง ๆ มิติที่สอง เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นแนวทางในการนำคลังคลิปอาร์ตไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดมูลค่าต่าง ๆ โดยในโครงการได้สาธิตการออกแบบภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ คือ ผลงานการออกแบบเหล่านั้น จะต้องเป็นไปเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว ภายในชุมชน ดังนั้น การคงไว้ซึ่งธรรมเนียมวิธีแบบท้องถิ่นสไตล์ที่สามารถใช้งานในชีวิตประจำวันได้จริง จึงเป็นสิ่งที่นักออกแบบต้องนำเสนอเข้าไปในภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นแนวทางให้ชุมชนสามารถนำไปพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่น่าสนใจได้ต่อไปในอนาคตด้วยตนเอง จากผลการทำงานของโครงการส่งผลให้ได้รับรางวัล CREATIVE DESIGN AWARD 2022

คำคมในการทำงาน

「好きだからできるようになるのではない。出来るようになったから好きになるのだ。」

"คุณไม่ได้เรียนรู้ที่จะทำมันเพราะคุณชอบมัน คุณเรียนรู้ที่จะรักมันเพราะว่าคุณทำมันได้"