University of Phayao

Digital Collections

ฐานข้อมูลคลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา จัดทำโดยศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บและเผยแพร่ผลงานของคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต ของมหาวิทยาลัยพะเยา

นโยบายการรับผลงานการรับผลงานเข้าสู่ฐานข้อมูลคลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา จะคัดเลือกรับผลงานประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • Theses วิทยานิพนธ์
  • Dissertations ดุษฎีนิพนธ์
  • Independent Study รายงานการค้นคว้าอิสระ
  • Technical Report รายงานการวิจัย
  • Journal Paper บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในบทความวารสาร
  • Bachelor’s Project ปัญหาพิเศษนักศึกษาปริญญาตรี
  • Patents สิทธิบัตร
  • Local Information Phayao Province ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดพะเยา
  • University of Phayao Archives จดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพะเยา

ติดต่อสอบถามข้อมูลหรือส่งผลงานได้ที่ UPDC Support.

Photo by @inspiredimages
 

Recent Submissions

Item
การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) มยุรี รินศรี
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 ของผู้บริหารโรงเรียน และครู จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ระดับการศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 จำนวน 175 คน โดยระบุขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตาราง เครจซี่และมอร์แกน เลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบตรวจสอบรายการ และแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องได้เท่ากับ 1.00 ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ (F-test หรือ One-way ANOVA) ในประสบการณ์ เมื่อพบความแตกต่างกันทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ (Scheffe's Method) จากผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) จากผลการเปรียบเทียบของผู้บริหารโรงเรียน และครู จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกันทุกด้าน และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกันทุกด้าน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์การ หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า ควรกำหนดแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ไปในทิศทางเดียวกัน การสนับสนุนส่งเสริมการบริหารงานวิชาการจากภาคีเครือข่าย
Item
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ชุดาภร มูลมณี
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 265 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T-test independent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนใช้สถิติ F-test (Analysis of Variance: ANOVA) เมื่อพบความแตกต่าง ใช้วิธีทดสอบความแตกต่างรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe') ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เมื่อทดสอบรายคู่ พบว่า ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ผู้บริหารที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 5 ปี แตกต่างกับประสบการณ์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ 5-10 ปี แตกต่างจากประสบการณ์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป
Item
การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ศิริพรพรรณ์ สียวง
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยจำแนกตาม อายุ ประสบการณ์การทำงาน และวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 185 คน ซึ่งได้มาโดยการใช้สูตรของยามาเน่ จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติทดสอบ กระบวนการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอแม่จันจังหวัดเชียงราย จำแนกตามอายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และวุฒิการศึกษา ในภาพรวมพบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05
Item
การศึกษาสภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) กชกร แสนทาโจ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามประสบการณ์การทำงานในตำแหน่ง และระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 108 คน โดยขนาดของกลุ่มตัวอย่างมาจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น แล้วนำมากำหนดสัดส่วนตามขนาดของกลุ่มประชากรในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 สอบถามสภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( One-way Analysis of Variance: ANOVA) เมื่อพบความแตกต่าง ใช้วิธีทดสอบความแตกต่างรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe') ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม เกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามประสบการณ์ทำงานในตำแหน่ง และระดับการศึกษา พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ทั้งภาพรวมและรายด้านทุกด้าน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
Item
ความสามารถในการใช้คำปรากฎร่วมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ศิริพร ตุงใย
Studying collocations among Thai university students, this study aims to determine which types of grammatical and lexical collocation are the most problematic, as well as the strategies used to overcome these difficulties. In this study, 34 fourth-year English major students at the University of Phayao agreed to participate. The research instruments used to investigate the participants’ competence of English collocation were 30 lexical collocation and 30 grammatical collocations based on Benson et al. (2010)’s strategy and explore the strategy used to overcome difficulties of collocation by semi-structured interview. The results revealed that the competence in English collocations of the participants was quite low (44.46%). The findings showed that the most problematic lexical group was found in Verb + Adverb (32.35%), followed by Adjective + Noun and Verb + Noun are the same score (47.35%). For grammatical collocation, the most problematic was found in Adjective + Preposition (41.76%). This was followed by Preposition + Noun (46.18%) and Noun + Preposition (51.76%), respectively. The results also pointed out that the word retrieval strategy was most frequently used (58.33%), followed by the approximate translation strategy (41.67%) respectively.